วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำได้ง่าย






เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำง่ายๆ
ดีครับ...น้องๆ วันนี้ พี่มีเทคนิคในการอ่านหนังสือยังงัยดีน่ะให้จำง่ายๆมาฝากน้องๆด้วยนะครับ(ขอบอกเลยว่าพี่เคยลองมาแล้วนะครับ แอบไปถามเพื่อนๆที่เค้าได้เกรดดีๆมาครับ ว่าเค้ามีเทคนิคอะไร)
อ่ะ...มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ ตามมาๆๆๆ
ข้อที่ 1. น้องๆต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อนเลยล่ะ ดูซิ!!!ว่าวิชาไหนน่ะที่เราต้องสอบเป็นอันดับแรกๆ หยิบวิชานั้นขึ้นมาก่อนเลย เตรียมไว้นะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาที่จะสอบ ชีท เอกสารต่างๆ หรือแนวข้อสอบ(อันนี้สำคัญนะค่ะ หาให้เจอล่ะ) ค้นเลยๆ ทุกวิชานะค่ะ
ข้อที่ 2.แยกหมวดหมู่แต่ละวิชา ก่อน-หลัง แล้วหาที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบด้วยล่ะ
ข้อที่ 3.เตรียม ดินสอ/ปากกา สมุด และปากกาเน้นข้อความไว้ด้วยนะ
ข้อที่ 5.เริ่มอ่านวิชาที่จะต้องสอบก่อนเป็นวิชาแรกเลยค่ะ ตรงนี้แหละสำคัญมาก น้องๆอย่าอ่านๆๆๆๆๆแล้วก็อ่านเพื่อให้จบ แบบผ่านๆนะค่ะ ต่อให้น้องๆอ่านสัก 10 รอบแล้วบอกคนอื่นๆว่า "ก็เค้าอ่านเป็นสิบๆรอบแล้วอ่ะ แต่ทำไมทำข้อสอบไม่ได้เลยน่ะ?" อ่ะๆๆๆ!!! อ่านสัก 100 รอบก็ไม่ช่วยอะไรหรอกเจ้าค่ะ อ่านแล้วต้องทำความเข้าใจไปด้วย ตรงไหนที่คิดว่าสำคัญๆ น้องๆก็เน้นตรงจุดนั้นไว้ อาจจะใช้วิธีการจดบันทึกไว้ หรือ เน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆก็ได้ค่ะ เพื่อว่าจะได้กลับมาอ่านอีกครั้ง
ข้อที่ 6.นั้นงัยๆๆๆพี่บอกไปตะกี้เองนะค่ะว่าอย่าอ่านแบบผ่านๆ ดูสิ!!!น้องๆลองกลับไปอ่านข้อ 3 ใหม่สิค่ะ แล้วดูซิว่าที่ต่อจากข้อ 3 นะเป็นข้อที่เท่าไหร่ ข้อที่ 4หายไปๆๆๆๆ ส่วนน้องๆคนไหนสังเกตเห็นก่อนที่พี่เฉลย น้องก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของการอ่านหนังสือแล้วละค่ะ เก่งมากๆเลย ส่วนน้องๆคนไหนที่ไม่ทันได้สังเกต ก็เอาจุดนี้เนี่ยแหละค่ะไปลองปรับใช้กับการอ่านหนังสือดูตามที่พี่บอกไว้ในข้อที่ 5 นะค่ะ
ข้อที่ 7.อ่ะ ต่อๆๆ การไม่ปล่อยให้ท้องว่างก็เป็นสิ่งสำคัญนะค่ะ ถ้าน้องๆอ่านๆๆๆหนังสืออย่างเดียวจนลืมทานข้าวแล้วละก็ นอกจากน้องๆจะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องแล้ว อาจจะทำให้ป่วย และทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ด้วยนะจ๊ะ สำคัญเลย ต้องหาอะไรทานเมื่อท้องว่างด้วยน้า...อย่าทรมาณตัวเองละ
ข้อที่ 8.ในการอ่านหนังสือ น้องๆควรเลือกเวลาที่รู้สึกว่าสมองเราพร้อมจะทำงานด้วยนะจ๊ะ แล้วเมื่อน้องๆรู้สึกว่าเริ่มอ่านไม่ไหวแล้วล่ะ อ่านนานมากไปทำให้ปวดตา ปวดหัว ให้น้องๆพักก่อน อาจจะหาอย่างอื่นทำ เช่นพักสายตาโดยการหาเพลงเพราะๆฟัง(อ่ะๆๆๆเลือเพลงที่ฟังแล้วจรรโลงใจด้วยละ ถ้าฟังเพลงที่หนักไป อาจทำให้ยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิม ไม่รู้ด้วยนะเจ้าค่ะ) จะดูทีวี เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทำแล้วผ่อนคลายก็หามาลองทำกันดูนะเจ้าค่ะ แต่ๆๆๆๆแล้วก็แต่...อย่าพักจนเพลินละ เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลายเพียงพอแล้วก็กลับเข้าสู่โหมดการอ่านหนังสือต่อเลยยย (เอาน่าๆทนเอาหน่อยนะเจ้าค่ะ สอบไม่ได้มีมาบ่อยๆ ตั้งใจให้สุดๆไปเลย)
ข้อที่ 9.นั้นแน่ๆ พี่รู้นะว่าน้องๆเริ่มใส่ใจในรายละเอียดในการอ่านกันบ้างแล้ว คงคิดใช่มั้ยละ ว่าพี่จะแกล้งทำให้ข้อไหนหายไปอีกน่ะ!!! ดีแล้วค่ะถ้าน้องๆคิดแบบนี้นะ เป็นการฝึกตัวเองไปด้วย ให้เป็นคนรอบคอบ ดีค่ะๆ อ่ะต่อๆ
ข้อที่ 10.อ้า....อ่านไม่ทันแล้วอ่ะ!!!ทำไงดีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนๆคนอื่นๆเกือบทุกคนละค่ะ ที่สำคัญเลย อย่าตื่นเต้นจนรนล่ะ ตั้งสตินะค่ะตรงนี้สำคัญมากๆเลย ให้น้องๆหยุดอ่านหนังสือต่อสักพักนึง แล้วดูซิว่า...พรุ่งนี้เราสอบวิชาอะไรบ้าง แล้วหยิบวิชาที่สอบเป็นวิชาแรกมาอ่านทบทวนก่อนเลย แล้วก็ทบทวนวิชาอื่นๆต่อไป (ตรงถ้าคิดว่ากลัวอ่านไม่ทันรอบทบทวนให้น้องๆอ่านในส่วนที่เน้น ที่สำคัญๆเอาไว้ก่อนเลย จำได้มั้ยเอ๋ยว่าในการอ่านรอบแรกพี่ให้น้องๆจดบันทึกที่สำคัญๆไว้ที่คิดว่าน่าจะออก หรือส่วนที่มันยาก จำไม่ได้ก็นำมาอ่านก่อนเลย ตรงส่วนไหนที่น้องๆจำได้ หรือเข้าใจก็เปิดผ่านๆเลยค่ะ ตอนนี้เราต้องทำเวลาแหละน่ะ)
ข้อที่ 11.เอาละ...อ่านหนังสือสอบก็ต้องฟิสหน่อย น้องๆบางคนอาจจะอ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายทำให้การอ่านหนังสือไม่ค่อยมีปัญหาเลยก็ดีไป ส่วนน้องคนไหนเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าก็ต้องขยันกว่าคนอื่นๆหน่อยแล้ว อาจจะทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน ทำให้ต้องนอนดึกหน่อย ก็อย่าลืมดูแลตัวเองนะค่ะ หานมอุ่นๆหรือของว่างทานสักนิดนึง ใส่ใจในสุขภาพหน่อยนะค่ะ เพราะเดี๋ยวน้องๆอาจป่วยได้ แล้วเป็นงัยน่ะ ไปสอบไม่ได้ แย่เลยน่ะเจ้าค่ะ สำคัญเลย ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันแล้วจริงๆ แต่ร่างกายเราไม่ไหวแล้ว อย่าฝืนนะค่ะ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น รีบเตรียมตัวเข้านอนกันดีกว่าค่ะ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น แถมถ้าเราตื่นเร็ว ก็จะมีเวลาอีกนิดในการทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะค่ะน้องๆ

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข่าวการเงิน


นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในเดือนเมษายน ยังคงหดตัว แต่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับมีนาคม แม้ว่าจะมีเหตุวุ่นวายทางการเมืองและเป็นเดือนที่มีวันหยุดมาก แต่ข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าที่คาด โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.6 เช่นเดียวกับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า
ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 16.4 ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และอัตราการใช้กำลังการผลิตยังต่ำคือ ร้อยละ 59.7 และความเชื่อมั่นที่ลดลงต่อเนื่อง โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ อยู่ที่ 39.2 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 40 เนื่องจากยังกังวลภาวะการเมืองและภาวะเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบร้อยละ 7.1 เป็นการหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2551 แต่พัฒนาการที่เห็นได้จากดัชนีชี้วัดเดือนต่อเดือนปรับตัวดีขึ้น แต่ยังไม่มั่นใจว่า สัญญาณที่ฟื้นขึ้น เป็นเพียงภาวะชั่วคราวหรือไม่ จึงยังต้องติดตามปัจจัยทั้งภายในและนอกประเทศ นอกจากนี้ในเดือนเมษายน 2552 ยังพบว่าสินเชื่อภาคเอกชนเพิ่มขึ้น หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยเพิ่มขึ้น 29,400 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อผู้บริโภคและส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ของแบงก์รัฐ หลังรัฐบาลเร่งรัดให้มีการปล่อยสินเชื่อ
ส่วนการส่งออกมีมูลค่า 10,279 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 25.2 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 9,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 36.4 ทำให้ดุลการค้ายังเกินดุล 619 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นางอมรา กล่าวถึงข้อเรียกร้องของผู้ส่งออกที่ต้องการให้ ธปท. ดูแลเงินบาทให้อ่อนค่าว่า ปัจจุบัน ธปท. ก็ดูแลอยู่ แต่การเคลื่อนไหวของเงินบาทต้องสอดคล้องกับเศรษฐกิจ โดยเงินบาทที่แท้จริง หากเทียบกับเพื่อนบ้านพบว่า เงินบาทอ่อนลง ทั้งนี้การดูแลเงินบาทจะต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เพราะหากทำให้เงินบาทอ่อนลงเพื่อช่วยการส่งออก ก็จะมีผลกระทบต่อการนำเข้าน้ำมันซึ่งมีผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้นการดำเนินนโยบายจะต้องให้เกิดความสมดุล และ ธปท. ไม่สามารถแยกเงินบาทเป็น 2 ส่วน คือ สำหรับผู้ส่งออกและผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะปัจจุบันมีการเปิดเสรีทั้งการค้าและการเงิน
ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ 0.9 เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1 โดย ธปท. ไม่กังวลแม้ว่า ราคาน้ำมันจะขยับสูงขึ้นมาที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เพราะเมื่อกรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันเคยสูงถึง 140 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลมาแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข่าวการเงิน


นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2552 ใหม่ คาดว่าจีดีพีจะหดตัวร้อยละ 3-4.5 จากเดิมคาดว่าหดตัวร้อยละ 1.5-3.5 แต่ได้ปรับเพิ่มจีดีพีปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 3-5 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 1.5-3.5 เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวดีขึ้นในปีหน้า ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จีดีพีจะกลับเป็นบวกในไตรมาส 4 เนื่องจากการส่งออกติดลบน้อยลง และเชื่อว่าผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 2 จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ และภาครัฐเร่งเบิกจ่ายมากขึ้น
นางอัจนา กล่าวว่า สาเหตุที่ ธปท.ปรับลดจีดีพีปี 2552 เพราะยังคงมีปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญเศรษฐกิจโลกอาจฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้ มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวและการบริโภคของภาคเอกชน และราคาน้ำมันที่อาจจะปรับตัวสูงกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งจะบั่นทอนกำไรของธุรกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค
“แม้ 2 เดือนแรกของไตรมาส 2 สัญญาณเศรษฐกิจจะทรงตัวดีขึ้น และเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่จีดีพีไตรมาส 1 ติดลบสูงถึงร้อยละ 7.1 เป็นการติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้” นางอัจนา กล่าว
ส่วนการบริโภคของภาคเอกชน คาดการณ์ว่าจะหดตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1-3 การลงทุนภาคเอกชนติดลบร้อยละ 17-19 ซึ่งทั้ง 2 ภาคไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องหวังพึ่งการลงทุนของภาครัฐที่คาดว่าจะโตร้อยละ 4-6 ส่วนการส่งออกติดลบร้อยละ 19.5-22.5 นำเข้าติดลบร้อยละ 29-32 ดุลการค้าเกินดุล 15,000-18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 15,000-18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาก ๆ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่ง ธปท.ยืนยันว่ามีการดูแลค่าเงินบาทอย่างดี และค่าเงินบาทไม่ใช่ปัจจัยหลักต่อภาคการส่งออก แต่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกและการขยายตัวของประเทศคู่ค้า
ส่วนเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง เงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 0-(-1.5) เงินพื้นฐานอยู่ประมาณร้อยละ 0.5-(-0.5) แม้เงินเฟ้อลดลงต่อเนื่องก็ไม่ได้เกิดภาวะเงินฝืด เนื่องจากรัฐบาลออกมาตรการลดค่าครองชีพ จึงช่วยบรรเทาผลกระทบของประชาชน


อ้างอิง http://emis.fpo.go.th/txtlstvw.aspx?LstID=5ea6a118-670f-47ad-a56b-e7e99ee33da9